วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559
คณะผู้จัดทำ
Protocol & OSI model
สมาชิกคณะผู้จัดทำ
นาย นพเก้า มายรรยงค์ 57143442
นาย พลากร นาจรัส 57143321
นาย รวิพล จันทนุปาน 57143343
นาย ฉัตรชัย สกุลชุ่มแสง 57143311
นาย ธนาดล วิลยะกุล 57143324
นาย ปฏิภาน สุนะ 57143423
Section 02
เสนอ
อาจารย์ ดร.ภัทราพร พรหมคำตัน
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
รหัสวิชา COM 2702
ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
BSC or BISYNC
Protocol BSC or BISYNC
เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม
ซึ่งกำหนดให้ หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous
Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ
Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง
ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น
แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน
NetBEUI
Protocol NetBEUI
เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบ
เครือข่ายขนาดเล็ก เนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วทั้งเครือข่ายไม่สามารถหาเส้นทาง
(route) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้
ข้อดีของโปรโตคอลนี้คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน
AppleTalk
Protocol AppleTalk
จุดเริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983
ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบ ชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น
เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่าย ของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆนอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่องพิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัทผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆก็ได้มีการผนวกฟังก์ชั่นให้รองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่ต้องไปหาซื้อ
อุปกรณ์เพิ่มเติมอีก
โปรโตคอล Apple Talk ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายในแบบ peer-to-peer ซึ่งถือว่าเครื่องทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ทุกเครื่องโดยไมต้องจัดให้บางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโดยเฉพาะขึ้นมา
ต่อมาปีค.ศ. 1989 ได้มีการพัฒนาโปรโตคอล AppleTalk ให้สนับสนุนเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นได้
สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้มากกว่าเดิมเรียกว่าเป็นโปรโตคอล
Apple Talk Phase 2 นอกจากนี้ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ
Ethernet และ Token Ring ได้
โดยเรียกว่า EtherTalk และ TokenTalk ตามลำดับ
H.323
Protocol H.323
การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิด แบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก
ๆ เรียกว่า แพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง
เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง
ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้
ICMP
รูปที่ 1 https://goo.gl/juEURS
รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล ICMP จะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน
และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกรวมอยู่ภายในข้อมูล IP Packet อีกทีหนึ่ง
หรือ เป็นผู้รายงานความผิดพลาดในนามของ IP เมื่อโปรโตคอลเกิดความผิดพลาดโดยไม่สามารถกู้คืนได้ Packet
ก็จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
-
ยกเลิก Packet แล้วรายงานความผิดพลาดกลับมายังผู้ส่ง ข้อความที่ส่งไปนั้นก็จะถูกทิ้ง
-
การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ
เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น
-
โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม
-
เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง
หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหา
จนไม่สามารถรับ ข้อมูลได้
รูปที่ 2 https://goo.gl/cNG8UX
Router
จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination
Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น
นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ จะมีส่วนของข้อมูล IP Packet ที่เกิดปัญหาด้วย
โปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping
ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่อง Server ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่
RARP
RARP (Reverse Address Resolection
Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN
สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย
gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน Gateway Router ของเครือข่าย
LAN ที่ใช้จับคู่ Address ของเครื่องทางกายภาพ
(หรือ Media Access Control Address) ที่ตรงกับ Internet
Protocol Address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP
จะขอ RARP Server จาก Routerให้ส่ง IP Address มาให้
สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง Router แล้ว RARP Server
จะส่งกลับ IP Address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป
RARP
มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet,
Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring
Protocol
โปรโตคอล คือ
ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น
ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบ
ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยว
กับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล
วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล
การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย
หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างของโปรโตคอล
1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext
Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer
Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด
เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง
Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ
TCP และ IP
3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple
Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล
ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย
เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTPหรือ
File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ
Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ
Internet Control Message Protocolเป็นต้น
ARP
ARP
หรือ Address Resolution Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร
ทำหน้าที่จับคู่ระหว่าง IP Address ทาง Logical และ Address ทาง Physical (จับคู่
IP Address และ MAC Address)
**
IP อยู่บน Layer 3 ส่วน Mac Address อยู่บน Layer 2
รูปที่ 1 https://goo.gl/e0aG4i
การทำงานของ ARP
- ขั้นตอนแรกเครื่องที่ต้องการสอบถาม
MAC Address ก็จะส่ง ARP Request ซึ่งบรรจุ
IP , MAC Address ของตนเอง และ IP Address ของเครื่องที่ต้องการทราบ MAC Address ส่วน MAC
Address ปลายทางนั้น จะถูกกำหนดเป็น FF:FF:FF:FF:FF:FF ซึ่งเป็น Broadcast Address เพื่อให้ ARP
packet ถูกส่งไปยังเครื่องทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์คเดียวกัน
- ขั้นตอนที่ 2 เมื่อ เครื่องที่มี IP Address ตรงกับระบุใน ARP
Packet จะตอบกลับมาด้วย ARP Packet โดยใส่ MAC Address และ IP Address ของตนเองเป็นผู้ส่ง และใส่ MAC
Address และ IP Address ของเครื่องที่ส่งมาเป็นผู้รับ
packet ที่ตอบกลับนี้เรียกว่า ARP Reply
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559
Protocol
โปรโตคอล คือ
ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น
ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบ
ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยว
กับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล
วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล
การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย
หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างของโปรโตคอล
1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext
Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer
Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด
เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง
Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ
TCP และ IP
3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple
Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล
ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย
เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTPหรือ
File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ
Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน
ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ
Internet Control Message Protocolเป็นต้น
DHCP
รูปที่ 1 https://goo.gl/OYoq9j
DHCP
มาจาก Dynamic Host Configuration Protocol ซึ่งทำหน้าที่จ่าย IP ให้แก่เครื่องลูก (clients) โดยอัตโนมัติ
สำหรับเน็ตเวอร์ที่มีเครื่องลูกหลายเครื่อง การกำหนด IP ให้แต่ละเครื่องบางครั้งก็ยากในการจดจำ
ว่ากำหนด IP ให้ไปเป็นเบอร์อะไรบ้างแล้ว
พอมีเครื่องเพิ่มเข้ามาในเน็ตเวอร์กใหม่ ต้องกลับไปค้น เพื่อจะ assign เบอร์ IP ใหม่ไม่ให้ซ้ำกับเบอร์เดิม DHCP
Server จะทำหน้าที่นี้แทน โดยเครื่องลูกเครื่องไหนเปิดเครื่อง
ก็จะขอ IP มายัง DHCP Server และ DHCP
Server ก็จะกำหนด IP ไปให้เครื่องลูกเอง
โดยไม่ซ้ากัน
หลักการทำงานเมื่อมีการเสียบสายเน็ตเวอร์คแล้วเครื่อง PC ก็จะได้เลข
IP ในทันทีเพื่อใช้ในการLogon
เข้าระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป DHCP
Server นิยมใช้กับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมากๆ
ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเครื่องลูกข่าย หรือความหมายง่ายๆ
คือ การตั้งค่าระบบ
เครือข่ายแบบอัตโนมัตินั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมทำสามารถใช้ทำเป็น DHCP
Server ได้
รูปที่ 2 https://goo.gl/ARZrJ3
บริการ DHCP Server นั้น ก็เหมือนกับบริการอื่นๆ ของ Windows
Server2003 คือจะไม่ถูกติดตั้งโดยดีฟอลท์ โดยวิธีการติดตั้ง DHCP
Server นั้น ให้ไปที่ Manage Your Server แล้วคลิกที่
Add or remove role จะได้หน้าต่าง Configure Your
Wizard ซึ่งจะช่วยในการ Add or remove a role
TCP/IP
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol
) ซึ่งในระบบ Internet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า
TCP/IP เป็นภาษาหลัก
ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP
ย่อมาจากคำว่า Transmission
Control Protocol
IP
ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ
รูปที่ 1 https://goo.gl/CxQwwy
รูปที่ 2 https://goo.gl/ktI2pQ
IP Address
IP
Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ
TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง
ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล
หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป
จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด
มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1
เป็นต้น โดยหมายเลข IP
Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน
สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง Computer
ของเราอยู่ใน Network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน Network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP
Address นั้น อยู่ใน Class อะไร
รูปที่ 2 https://goo.gl/0Ly7eW
เหตุที่ต้องมีการแบ่ง Class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP
Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก Class
ของ Network ก็คือ Bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ
IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว)
นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น Class A ถ้าเป็น 10
ก็จะเป็น Class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น Class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน Class
A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 - 127 (000000002 ?
011111112) จะอยู่ใน Class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่
128 - 191 (100000002 - 101111112) และ จะอยู่ใน Class
C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 - 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น Address ของ Network
ดังนั้น Network ใน Class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 - 126
สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น Class พิเศษ อย่างเช่น
Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast
ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน
ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D
และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ
ตัวอย่าง IP Address
Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
รูปที่ 3 https://goo.gl/744UE1
จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า Computer 2
เครื่องอยู่ใน Network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ
Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network
ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน Network วงเดียวกัน
เช่น Computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน Network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP
Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (Class A ใช้ Network ID 1 byte)
วิธีตรวจสอบ IP Address
1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
2.พิมพ์คำว่า Cmd กดปุ่ม OK
3.จะได้หน้าต่างสีดำ
4.พิมพ์คำว่า Ipconfig กด Enter
5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address
SMTP
SMTP ย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol คือ Protocol แบบ TCP/IP ที่ใช้ในการส่ง E-Mail ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ ซี่งสามารถส่งเมล์ไปยังผู้ใช้ได้ทั่วโลก
มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการส่ง E-mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น
และ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP
รูปที่ 2 https://goo.gl/uDLS49
POP3
POP3
ย่อมาจาก Post Office Protocol Version 3 คือโปรโตคอล
( Protocol ) ที่ใช้รับ E-Mail ซึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Version 3 หรือเรียกสั้นๆ ว่า POP3 มีการทำงานแบบ Store-and-Forward
นั้นหมายความว่า E-mail ที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ที่เครื่อง
Server เพียงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมีความต้องการอ่าน E-mail
ระบบจะทำการส่งข้อมูลของ E-mail มายังเครื่อง Client
และลบข้อมูลบน Server ออก ดังนั้น
เราสามารถอ่าน Mail ของเราหลังจากดึงข้อมูลเสร็จแล้ว
ได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ต่างกับ SMTP เพราะ POP จะใช้ในการรับ E-mail เท่านั้น ส่วน SMTP จะใช้ในการส่ง E-mail
รูปที่ 1 https://goo.gl/Oa73xu
รูปที่ 2 https://goo.gl/uDLS49
HTTPS
https
ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol Over Secure Socket
Layer หรือ http Over ssl คือ
โปรโตคอลที่ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure http โปรโตคอล https
สร้างเพื่อความปลอดภัย ในการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตข้อมูลที่ทำการส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้
โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นได้รู้เรื่อง
โดยข้อมูลนั้นจะสามารถอ่านได้เข้าใจเฉพาะ Client กับเครื่อง Server
เท่านั้น นิยมใช้กับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น
เว็บไซต์ของธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น
FTP
FTP ย่อมาจาก File
Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง
ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง
ไคลเอนต์ (Client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย
เรียกว่า โฮสติง (Hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์
ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้
FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ
ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง
Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น
จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ
รหัสผู้เข้าใช้ (Password) ก่อน
และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (Server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP
server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์
ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP
client เป็นโปรแกรม FTP
ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ User ทั่วๆไป
ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP Server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์
และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTP
โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม
สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก
การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting
ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน
แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้
เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์
ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)